ลำดับขั้นตอนการฟัง


                                                             ลำดับขั้นตอนการฟัง 

1.           ขั้นตอนเตรียมความพร้อม
       ในการเตรียมความพร้อม การสอนฟังนี้ จะเน้นประโยชน์ของการฟัง โดยให้นักเรียนฟังแล้วแยกเสียงต่างๆโดยเน้นการฟังคำพูด ฟังเสียงดนตรี ฟังเสียงธรรมชาติทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ฟังเสียงที่แสดงอารมณ์ต่างๆฟังเสียงสัญญานแต่ล่ะชนิด ฟังเสียงที่มีละดับเสียงที่แตกต่างกัน คำที่มีความหมายต่างกันแม้จะออกเสียงอย่างเดียวกัน เช่น คำพ้อง คำที่มีพยางค์เดียว กลุ่มคำและประโยค และสามารถจับใจความที่เน้นความหมายตรงกับความหมายโดยนัยได้ รวมทั้งฟังเรื่องราวหรือบทร้องกรองได้เข้าใจ  
2.           ขั้นฝึกการปฎิบัติตนในการฟัง และมารยาทในการฟัง
      ในขั้นนี้จำเป็นต้องฝึกควบคู่ไปกับทักษะต่างๆและฝึกข้อปฎิบัติไปทีละเล็กทีละน้อยจะหวังผลตอบในการฝึกเพียงครั้งเดียว ขั้นเดียวได้ยาก อย่าสอนโดยวิธีให้ท่องจำแต่ฝึกให้ปฎิบัติจริงทุกครั้งที่มีการสอน เช่น เน้นการปฎิบัติตนในการฟังดังนี้
·       ไม่พูดคุยหรือเล่นในขณะที่ฟัง รู้จักสำรวม
·       ไม่ส่งเสียงหรือแสดงกิริยาไม่เหมาะสม เช่น โฮ่ ฮา เคาะโต๊ะหรือพูดแซง ฯลฯ
·       ขออนุญาตก่อนพูด ซักถาม เช่น ยกมือขอพูด ฯลฯ
·       หากจำเป็นจะออกจากที่ประชุมในขณะที่ฟัง ต้องแสดงความเคราพหรือขออนุณาตก่อน
·       ปรบมือให้เกียรติเมื่อพูดจบแล้วหรือเมื่อได้ฟังข้อความที่พอใจ
·       มีสมาธิในการฟังคือฟังอย่างตั้งใจและมีจิตใจจดจ่อในสิ่งที่ฟังเป็นเวลานานพอสมควร อย่างน้อยครั้ง 15 นาที (เมื่อเริ่มฝึกอาจมีสมาธิได้เพียง 1-2 นาทีแล้วค่อยๆเพิ่มมากขึ้น)
·       คัดค้านอย่างสุขภาพถ้าไม่เห็นด้วยข้อความที่ฟังหลังจากผู้พูดพูดจบแล้ว
3.           ขั้นฝึกทักษะในการฟัง เมื่อนักเรียนฝึกทักษะพื้นฐานในการฟังแล้วจึงฝึกทักษะในการฟังที่นำไปใช้ในการสื่อความหมายและการใช้ประโยชน์ในการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
·       ฟังและปฎิบัติตามคำสั้งหรือสัญญานได้ต้องตั้งใจฟังแยกเสียงคำได้ถูกและรู้จักคำและความหมายอย่างน้อยตามที่หลักสูตรกำหนด
·       ฟังและปฎิบัติตามคำแนะนำได้ต้องตั้งใจฟังและมีสมาธิในการฟัง
·       ฟังและจับใจความได้ (มีสมาธิและจดจำได้มากและนาน)
·       ฟังและเข้าใจเนื้อเรื่องโดยตลอดแล้วเล่าใหม่ได้อย่างครบถ้วน
·       ฟังและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังได้
·       ฟังและให้ความเห็นสนับสนุนและขัดแย้งได้
·       ฟังและคาดคะเนความคิดของผู้พูดได้
·       ฟังคำอธิบาย
·       ฟังเพื่อรายงานต่อผู้อื่นเพื่อฝึกให้สามารถเก็บความสามารถนำไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นฟังได้
·       ฟังเพื่อการเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ฟังที่ตัดส่วนที่ไม่สำคัญออกโดยจับเฉพาะประเด็นสำคัญๆแล้วสรุปเป็นความคิดหรือความรู้
·       ฟังเพื่อวิเคราะห์ คือรู้จักข้อเท็จจริง ซึ่งผู้ฟังจะต้องใช้คำวิจารณญาณและรู้จักวิเคราะห์เรื่องราวด้วยความรู้สึกเป็นกลาง 
·       การฟังการสนทนา เป็นทักษะที่จำเป็นในการเข้าสมาคม
การพูดที่ดีต้องอาศัยการฟังที่ดี
·       ไม่ฟังเพื่อจับผิด
·       มีมารยาทในการฟัง
4.           ขั้นพัฒนาสมรรถภาพในการฟัง คือนำความรู้จากสิ่งที่ฟังมาประยุกต์ใช้ได้ฟังเรื่องราวแล้วสามารถแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่ฟัง  


ข้อมูลมาจาก 
รค.ทัศนีย์ ศุภเมธี กศ.บ (เอกภาษาไทย สาขาการประถมศึกษา) 
ผู้จัดพิมพ์.สถาบันราชภัฏธนบุรี พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2542  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น