การสอนทักษะการพูด


การสอนทักษะการพูด
การพูดต้องควบคู่กันไปกันไปกับการฟังการฟัง เพราะกิจกรรมบางอย่างไม่สามารถแยกการพูดกับการฟังออกจากกันได้และการฟังการพูดเป็นทักษะพื้นฐานในการสอนอ่านและเขียนจึงควรสอนให้สัมพันธ์กันโดยตลอด การสอนฟัง พูดนั้นสามารถได้ทุกโอกาสทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนหรือนอกเวลาเรียน
         การพูดเป็นการการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและความรู้ของตออกมาให้ผู้อื่นทราบเป็นทักษะที่มีความจำเป็นที่จะต้องฝึกฝน จึงพัฒนา ดังนั้น การเรียนนั้นควรจัดกิจกรรมส่งเสริมให้กับนักเรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะการพูดในโอกาสต่างๆที่นักเรียนจำเป็นต้องใช้เพื่อเกิดความมั่นใจ และสามารถปฎิบัติได้ การสอนพูดในโรงเรียนนั้น จุดหมายปลายทางคือการ “พูดเป็น” เพราะถือว่านักเรียนทุกคนจะพูดได้แล้ว  

จุดประสงค์ของการพูดที่ควรเน้น 

1.           ฝึกให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นในตัวเอง กล้าพูดกล้าแสดงความคิดเห็น
2.           ฝึกพัฒนาการปฎิบัติตนในการพูด
3.           ฝึกทักษะและพัฒนาการพูดโดยคำนึงถึงจุดประสงค์ที่ต้องการจะเน้นในแต่ล่ะครั้ง
4.           ส่งเสริมพัฒนาการด้านการใข้ภาษาของนักเรียน
5.           ให้รู้จักใช้ภาษาพูด เพื่อสื่อความหมายให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายได้ตรงตามความประสงค์
6.           เน้นส่งเสริม เจตคติและนิสัยที่ดีในการพูด เช่น พูดให้ตรงประเด็น การควบคุมอารมณ์ในขณะ
7.           มารยาทที่ดีในการพูด ซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นที่จำเป็น เพราะการพูดนั้นมีส่วนที่เสริมสร้างเจตคติในการติดต่อระหว่างบุคคลและหมู่คณะ ดังนั้นเด็กจึงควรปฎิบัติให้เป็นนิสัยที่ดีเกี่ยวกับมารยาทที่ดีในการพูด เช่น
·       ควรรู้จักกล่าวคำ ขอบคุณ ขอบใจ เสียใจ ขอโทษ ในโอกาสอันควรกล่าวให้เป็นนิสัย
·       ใช้ถ้อยคำสุขภาพ ให้เหมาะสมกับผู้ฟัง
·       ไม่พูดกระทบกระเทียบผู้อื่น หรือให้ร้ายป้ายสีผู้อื่น
·       ไม่ใช้อารมณ์ในการพูด ควรพูดให้เหตุผล
·       ไม่พูดแซงขึ้นมากลางคันในขนาดที่ผู้อื่นยังพุดไม่จบ
·       ไม่พูดอวดตน อวดภูมิหรือข่มผู้อื่น
·       ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นถ้าเขามีเหตุผลที่ดีกว่า
·       เวลาที่จะขอร้องให้ผู้อื่นช่วย ควรใช้คำ กรุณา หรือโปรด
·       คิดให้รอบคอบก่อนพูดเพราะบ้างทีเมื่อพูดไปแล้วคำพูดคำเดียวอาจฆ่าคนตายได้  


ข้อมูลมาจาก 
รค.ทัศนีย์ ศุภเมธี กศ.บ (เอกภาษาไทย สาขาการประถมศึกษา) 
ผู้จัดพิมพ์.สถาบันราชภัฏธนบุรี พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2542  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น