ลำดับขั้นตอนในการฝึกพูด
1.
ขั้นเตรียมความพร้อม
การฝึกในขั้นนี้นับว่ามีความสำคัญมากหากครูใช้วิธีไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมอาจเป็นการสะกัดกั้นความคิด
และทำให้นักเรียนไม่กล้าพูดไม่กล้าแสดงออกการสอนฝึกควรเน้นการพูดให้มีความกล้าแสดงออกเป็นอันดับแรก
หากนักเรียนพูดไม่ชัดใช้คำไม่ถูกไม่เหมาะสมก็อย่าใช้วิธีตำหนิหรือใช้ความคิดกฎเกณฑ์ของผู้ใหญ่มาตัดสิน
การแก้ใขก็ควรค่อยเป็นค่อยไป และอาจแก้ไขด้วยการพูดตามครู พูดตามตัวละคร ฯลฯ
ฝึกให้คิดหาเหตุผล เพื่อตัดสินใจและเลือกกระทำเลือกพูดให้ถูกต้อง
2.ขั้นฝึกการปฎิบัติในการพูดหรือมารยาทในการพูด
เมื่อนักเรียนกล้าพูดในขั้นเตรียมความพร้อม ก็ฝึกมารยาทในการพูดต่อไป คือ
·
ใช้คำแทนชื่อถูกต้องเหมาะสม
·
รู้จักทักทาย ขอบคุณ ขอโทษ
·
ใช้น้ำเสียง ถ้อยคำสุขภาพ ไพเราะ
·
รอจังหวะในการพูด ไม่ชิงกันพูด
ขออนุญาณก่อนพูด
·
แสดงกิริยามารยาทถูกต้องเหมาะสมในขณะที่พูด
3
ขั้นฝึกทักษะในการพูด
·
ฝึกพูดจากสิ่งที่มีประสบการณ์ที่เคยพบเห็น
·
ร้องเพลง
·
เล่านิทานที่เคยรู้ เล่าประสบการณ์
ที่เคยพบเห็น
·
ให้ดูภาพแล้วอธิบาย
หรือเล่าเรื่องจากภาพ
·
พูดคุยหลังจากไปศึกษานอกห้องเรียน
·
พูดต้อนรับแขก พูดโทรศัพท์
พูดซื้อของต่อราคา
·
พุดอวยพร ประกาศ
·
ฟังหรืออ่านคำแล้วนำมาพูดให้ผู้อื่นฟังได้
·
พูดแสดงความคิดและเหตุผล (ตอบคำถาม)
“ทำไม” ด้วยคำว่า เพราะ”
·
พูดอธิบายสิ่งที่ตนทำหรือคิด
·
พูดและสนับสนุน ขัดแย้ง
และแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
·
ฟังหรืออ่าน
ข้อความยากๆได้พูดทวนใหม่ได้ถูกต้อง
·
พูดแสดงความคิดเห็นจากจินตนาการ
ข้อมูลมาจาก
รค.ทัศนีย์ ศุภเมธี กศ.บ (เอกภาษาไทย สาขาการประถมศึกษา)
ผู้จัดพิมพ์.สถาบันราชภัฏธนบุรี พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2542
ข้อมูลมาจาก
รค.ทัศนีย์ ศุภเมธี กศ.บ (เอกภาษาไทย สาขาการประถมศึกษา)
ผู้จัดพิมพ์.สถาบันราชภัฏธนบุรี พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2542
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น